วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2567 – 2571

วิสัยทัศน์

ภายในปี 2571 มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์จะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศด้านธุรกิจและดิจิทัล ผลิตบัณฑิตที่มีทักษะทางวิชาชีพ มีคุณภาพ คุณธรรม เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
By 2028, Rajapruk University will be a university of excellence in business management and digital, producing graduates with professional skills, quality, and morality on both national and international recognition.

พันธกิจ มีทั้งสิ้น 5 พันธกิจ

1. ด้านการผลิตบัณฑิตและบุคลากรวิชาชีพ
2. ด้านงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ
3. ด้านทำนุบำรุงศาสนา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม
5. ด้านการบริหารจัดการและการรับรองคุณภาพ

ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์

เป้าหมายผลผลิต
พัฒนากระบวนการผลิตบัณฑิตและบุคลากรวิชาชีพทั้งระบบตั้งแต่หลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สามารถยกระดับทักษะและความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความหลากหลายและต่างวัยให้มีศักยภาพและความเชี่ยวชาญเฉพาะที่สอดคล้องและตอบสนองการพัฒนาประเทศ โดยมีนวัตกรรมการจัดทำหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ทั้งในระบบชั้นเรียน ระบบการจัดการศึกษาทางไกล และระบบการจัดการศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนและบัณฑิตมีผลลัพธ์การเรียนรู้ มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีคุณลักษณะและสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ
มี 4 กลยุทธ์ คือ

กลยุทธ์ที่ 1 มีหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม และประชากรทุกช่วงวัย

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มีหลักสูตรระดับปริญญา (Degree Program) หลักสูตรระยะสั้น (Non-Degree Program) ที่มีความยืดหยุ่น (Flexibility) เข้าถึงได้ง่าย (Accessibility) สามารถพัฒนาทักษะให้คนทุกช่วงวัยรวมทั้งกลุ่มผู้สูงอายุก้าวทันวิทยาการ เทคโนโลยี มีทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับการประกอบวิชาชีพในรูปแบบ Reskill Upskill และ New Skills และสามารถเก็บหน่วยกิตสะสมได้ตลอดชีวิต (Credit bank)
2. มีหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพที่เฉพาะเจาะจง ทำเป็นอย่างชำนาญและเชี่ยวชาญ (Micro Credentials) สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน 
3. ทุกหลักสูตรมีการประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร สมรรถนะทางวิชาชีพ ทักษะศตวรรษที่ 21 และทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศก่อนสำเร็จการศึกษา
4. มีหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนในรูปแบบการจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) โดยจัดการศึกษาในรูปแบบ Work-based Learning ให้นิสิตได้เรียนรู้ในมหาวิทยาลัยควบคู่กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ


กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในยุคดิจิทัล

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้และการประเมินที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียน (Outcome-based Education: OBE) เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพที่เฉพาะเจาะจง ทำเป็นอย่างชำนาญและเชี่ยวชาญ (Micro Credentials) ทุกสาขาวิชา 
2. มีระบบการจัดการเรียนรู้ (Learning Management System) ที่ยืดหยุ่น (Flexible) และผสมผสาน (Hybrid learning) สามารถรองรับการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ง่าย มีรายวิชาที่เรียนผ่านระบบออนไลน์บน Platform ของมหาวิทยาลัย RPU Online System for Education (ROSE) รวมถึงมี Platform พัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศให้แก่นิสิตทุกคน
3. มีผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินสมรรถนะในวิชาชีพ สมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลระดับสากล การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน และมีทักษะในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาบูรณาการศาสตร์สาขาต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรม

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนานิสิตให้สามารถสร้างผลงานวิชาการและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนิสิตด้านความรู้ ความสามารถที่ใช้ในการทำงานและการดำรงชีวิตทั้ง Hard Skills และ Soft Skills
2. ส่งเสริมนิสิตให้มีทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการ มีศักยภาพในการเป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
3. พัฒนานิสิตให้มีศักยภาพในการสร้างองค์ความรู้ใหม่สร้างสรรค์ผลงาน และนวัตกรรมตามสาขาวิชา พัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในทิศทางเดียวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

กลยุทธ์ที่ 4 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มีหลักสูตรที่มีการพัฒนาร่วมกัน (Joint Degree) หรือหลักสูตร 2 ปริญญา (Double Degree) ในสาขาวิชาที่เป็นความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยที่เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
2. มีเครือข่ายความร่วมมือกับสถานประกอบการ ชุมชนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งนิสิตเก่าของมหาวิทยาลัยเพื่อระดมทุนในการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
3. มีสถานประกอบการร่วมจัดการศึกษาผ่านการปฏิบัติงานจริงในรูปแบบการจัดสหกิจศึกษา และการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative Work Integrated Education: CWIE) ที่เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนและการทำงาน

เป้าหมายผลผลิต

สรรหา คัดเลือก พัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้นำทางวิชาการ มีการปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพ รวมถึงสมรรถนะด้านดิจิทัล ด้านการวิจัย มีจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ พร้อมทั้งธำรงรักษาบุคลากรให้คงอยู่กับมหาวิทยาลัย

มี 3 กลยุทธ์ คือ

กลยุทธ์ที่ 5 สรรหา คัดเลือกบุคลากร หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มุ่งสรรหา คัดเลือกบุคลากร หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์เข้ามาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนามหาวิทยาลัย

กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. พัฒนาสมรรถนะและศักยภาพของอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพในด้านการจัดการเรียนการสอน เทคโนโลยี ให้มีความเชี่ยวชาญในด้านความรู้ความสามารถ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) และด้านทัศนคติ (Attitude) ที่ดีต่อมหาวิทยาลัย รวมถึงมีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพที่เหมาะสม
2. มุ่งพัฒนาอาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
3. มุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีคุณวุฒิทางการศึกษาที่สูงขึ้น
4. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น
5. พัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ ความสามารถ และทัศนคติที่สนองตอบความต้องการในการปฏิบัติงาน

กลยุทธ์ที่ 7 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความรู้สึกภักดีต่อองค์กร

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มุ่งให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขในการทำงาน รวมถึงสร้างความรู้สึกภักดีต่อองค์กร

เป้าหมายผลผลิต

นิสิตหรือบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม มีความภาคภูมิใจในสถาบัน มีสมรรถนะและจรรยาบรรณในวิชาชีพ สอดคล้องกับอัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างพลเมืองโลก ที่มีจิตสาธารณะ นิสิตได้รับการบริการสวัสดิการที่ดีเอื้อประโยชน์ตามสิทธิพึงประสงค์ของนิสิต เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งสร้างเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังเหตุฉุกเฉิน และได้รับความร่วมมือของนิสิตเก่า  โดยมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางของความสัมพันธ์

มี 2 กลยุทธ์ คือ

กลยุทธ์ที่ 8 พัฒนาศักยภาพของนิสิต ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนิสิตด้านกิจกรรมและทักษะทางสังคมที่ใช้เพื่อปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (Soft Skills)
2. ส่งเสริมให้นิสิตมีความเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้
3. ส่งเสริมกิจกรรมด้านจิตสาธารณะ มีการทำงานร่วมกันเป็นทีม

กลยุทธ์ที่ 9 ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของนิสิต และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับนิสิตเก่า และหน่วยงานภายนอก

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. พัฒนาระบบงานสวัสดิการนิสิตเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
2. ส่งเสริมให้นิสิตเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ในมหาวิทยาลัยและเครือข่ายภายนอกมหาวิทยาลัย
3. ส่งเสริมให้นิสิตได้รับโอกาสเข้าถึงสิทธิประโยชน์ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างนิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภายนอกให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน สนับสนุนเครือข่ายศิษย์เก่าร่วมพัฒนานิสิตและมหาวิทยาลัย

เป้าหมายผลผลิต

มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งผลิตงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรม นำไปสู่การใช้งานจริงและสร้างโอกาสทางธุรกิจ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

มี 3 กลยุทธ์ คือ

กลยุทธ์ที่ 10 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อการวิจัย

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. การจัดทำฐานข้อมูลงานวิจัยที่รวบรวมองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการสืบค้น เอื้อต่อการอ้างอิงทางวิชาการและการใช้ประโยชน์ รวมไปถึงการจัดทำแพลตฟอร์ม (Platform) ในการส่งเสริมระบบนิเวศด้านการวิจัยและนวัตกรรม เช่น การพิจารณางานวิจัย การให้ทุนวิจัย และการประเมินงานวิจัย
2. ส่งเสริมการนำงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ แก่การจัดการศึกษา ภาคธุรกิจ เชิงพาณิชย์ ชุมชน และสังคม

กลยุทธ์ที่ 11 การพัฒนามาตรฐานคุณภาพงานวิจัยและจริยธรรมการวิจัย

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เช่น การกำหนดนโยบายและกรอบโจทย์งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ การจัดให้มีที่ปรึกษางานวิจัย การจัดนักวิจัยพี่เลี้ยงให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ จัดกรอบทุนวิจัย และรางวัลนักวิจัย
2. กำหนดมาตรฐานหลักเกณฑ์ในการดำเนินงานวิจัย ซึ่งต้องอยู่บนฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม เช่น มาตรฐานการวิจัยในมนุษย์ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับนักวิจัย มาตรฐานผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินงานวิจัย มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ จรรยาบรรณวิชาชีพวิจัย และแนวทางปฏิบัติและจริยธรรมสำหรับผู้ประเมินโครงการวิจัยและผลงานทางวิชาการ
3. พัฒนาการเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
4. ส่งเสริมการเผยแพร่องค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ

กลยุทธ์ที่ 12 สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัย

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยกับสถานศึกษาหรือหน่วยงาน ในประเทศหรือต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศด้านธุรกิจและดิจิทัล

เป้าหมายผลผลิต

มหาวิทยาลัยมีการทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน และสังคมที่นำไปสู่การพัฒนา การสนับสนุนส่งเสริมสร้างสรรค์ความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่บุคลากร นิสิต ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญและเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย โดยมหาวิทยาลัยมีบทบาทในการส่งเสริมสืบสานและสร้างสรรค์งานด้านด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับชุมชนท้องถิ่น

มี 2 กลยุทธ์ คือ

กลยุทธ์ที่ 13 สนับสนุนส่งเสริมการทำนุบำรุงศาสนา และเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรมไทย

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. ส่งเสริมการทำนุบำรุงศาสนาและเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรมไทย
2. เผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนในรูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์และเหมาะสมตามยุคสมัย

กลยุทธ์ที่ 14 ส่งเสริม สืบสาน รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. อนุรักษ์ สืบสาน รักษา และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างค่านิยมความเป็นไทย

เป้าหมายผลผลิต

มหาวิทยาลัยมุ่งให้บริการวิชาการและวิชาชีพให้แก่ชุมชน สังคมทุกช่วงวัยในสาขาวิชาที่เป็นความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย รวมถึงด้านการทำธุรกิจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยการอบรมให้ความรู้ อบรมเชิงปฏิบัติการ จัดทำหลักสูตรระยะสั้น และเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ ที่เน้นการสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของนิสิต อาจารย์ และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านธุรกิจและดิจิทัล (Smart Business and Digital Center) เพื่อการพัฒนาศักยภาพชุมชน สังคม ให้มีความรู้ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินงานต่าง ๆ ตามความต้องการและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน สังคม เพื่อให้ชุมชน สังคม มีความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถในการทำธุรกิจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินงานต่าง ๆ

มี 2 กลยุทธ์ คือ

กลยุทธ์ที่ 15 การเป็นศูนย์กลางการบริการวิชาการและส่งเสริมความเป็นเลิศด้านธุรกิจและดิจิทัล (Smart Business and Digital Center) ให้แก่ชุมชน สังคม

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มหาวิทยาลัยมีโครงการ/กิจกรรมให้บริการวิชาการและวิชาชีพในด้านสาขาวิชาที่เป็นความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ชุมชน สังคมทุกช่วงวัย รวมถึงการทำธุรกิจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของชุมชน สังคม
2. มหาวิทยาลัยมีศูนย์ความเป็นเลิศด้านธุรกิจและดิจิทัล (Smart Business and Digital) เพื่อทำหน้าที่ฝึกอบรม ให้บริการคำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือ และส่งเสริมการทำธุรกิจในด้านสาขาวิชาที่เป็นความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย
3. ชุมชน และสังคมมีความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถในการทำธุรกิจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินงานต่าง ๆ
4. นิสิตมีทักษะในการทำธุรกิจในด้านสาขาวิชาที่เป็นความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจจากการมีส่วนร่วมในการให้บริการในศูนย์ความเป็นเลิศด้านธุรกิจและดิจิทัล (Smart Business and Digital Center)

กลยุทธ์ที่ 16 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านบริการวิชาการให้แก่ชุมชน สังคม

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มหาวิทยาลัยมีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกในการบริการวิชาการและส่งเสริมความเป็นเลิศในด้านธุรกิจและดิจิทัลให้แก่ชุมชน สังคม

เป้าหมายผลผลิต

พัฒนาระบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้หลักธรรมาภิบาล และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาภายในหรือต่างประเทศ ในลักษณะเครือข่าย เพื่อรองรับความต้องการในการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะของผู้เรียนที่หลากหลาย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 เป็นไปตาม มาตรฐานระดับชาติหรือนานาชาติ

มี 5 กลยุทธ์ คือ

กลยุทธ์ที่ 17 การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มหาวิทยาลัยมีการจัดทำ แผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะยาว 10 ปี แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ แผนปฏิบัติการประจำปี และมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับคณะและสำนัก
2. การสร้างความมั่นคงทางการเงิน โดยการวางแผนหารายได้ และวางระบบการจัดทำงบประมาณรายจ่ายที่สมดุลและสอดคล้องกับการพัฒนาศักยภาพของมหาวิทยาลัยให้มีความยั่งยืน
3. มีแผนบริหารความเสี่ยงที่สามารถควบคุมและจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การบริหารงานทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

กลยุทธ์ที่ 18 การพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิทัล

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อการบริหารงานทุกระบบ รวมถึงพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้และการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
2. มีการสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่สามารถใช้ในการตัดสินใจในการบริหารมหาวิทยาลัย
3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เชื่อมโยงสถานที่ตั้งหลักสู่วิทยาเขตและศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้ง
4. สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
5. มีระบบดิจิทัลที่สามารถสนับสนุนพันธกิจหลักและพันธกิจอื่น ๆ ในงานวิชาการ งานทะเบียนและประเมินผล งานประกันคุณภาพการศึกษา งานนโยบายและแผน งานการเงินและงบประมาณ และงานบริหารทรัพยากรบุคคล

กลยุทธ์ที่ 19 การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของมหาวิทยาลัย (Sustainable Development Goals: SDGs)

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ พัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืนในทุกระบบตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าที่มีความสมดุลและสอดคล้องกันของมหาวิทยาลัย นิสิต บุคลากร ชุมชน และท้องถิ่น ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์ที่ 20 พัฒนาการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามเกณฑ์มาตรฐานชาติและระดับสากล

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. คณะและมหาวิทยาลัยได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานระดับชาติและระดับสากล เช่น การจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก (UI Green Metric World University Ranking) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx) เป็นต้น

2. มีหลักสูตรที่ได้มาตรฐานได้รับการรับรองและยอมรับตามเกณฑ์มาตรฐานระดับชาติและระดับสากล

กลยุทธ์ที่ 21 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือของมหาวิทยาลัยกับสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศ

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มีเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหรือสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ

เป้าหมายผลผลิต

สื่อสารภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยตามอัตลักษณ์ “มหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศทางด้านธุรกิจและดิจิทัล (Smart Business and Digital University)” โดยเน้นการสื่อสารภาพลักษณ์ที่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการบริหารจัดการ และ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาในหลากหลายกลุ่ม

มี 2 กลยุทธ์ คือ

กลยุทธ์ที่ 22 สื่อสารภาพลักษณ์มหาวิทยาลัย

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาตรีออนไลน์ บัณฑิตศึกษา และคอร์สอบรมระยะสั้นผ่านระบบออนไลน์ อย่างเป็นรูปธรรม
2. มีการประชาสัมพันธ์แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านระบบ เช่น ROSE (RPU Online System for Education) อย่างเป็นรูปธรรม
3. มีการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย การบริหารการจัดการหลักสูตร การเรียนผ่านช่องทางสื่อสารที่หลากหลาย

กลยุทธ์ที่ 23 การประชาสัมพันธ์ตามรูปแบบกระแสสื่อสังคมออนไลน์

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มีการจัดกิจกรรมร่วมกับกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแนะแนวประชาสัมพันธ์
2. มีการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัย ใช้สื่อสารผ่านช่องทางเทคโนโลยี ได้ทุกรูปแบบ
3. คณะและสาขามีการสร้างคอนเทนต์ (Content) เพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตร และกิจกรรมต่าง ๆ ลงบนสื่อออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ
4. มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของคณะ สาขา และความสำเร็จของศิษย์เก่า ลงบนสื่อออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ
5. คณะและสาขาวิชามีการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ การบริการวิชาการให้แก่ สถานศึกษา ชุมชน และสถานประกอบการ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออนไซท์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับ นักเรียน นักศึกษา และประชาสังคม
6. มีการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย การบริหารการจัดการหลักสูตร การเรียนการสอนผ่านช่องทางสื่อสารที่หลากหลาย
7. มีเครือข่ายประชาสัมพันธ์ร่วมกับสถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
8. สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนด้วยกิจกรรมและเผยแพร่ข่าวสารให้เกิดความเชื่อถือ ศรัทธา เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนระหว่างสถาบันการศึกษาและชุมชน