วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 - 2566

วิสัยทัศน์

ภายในปี 2571 มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์จะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการบริหารจัดการยุคดิจิทัล และผลิตบัณฑิตที่มีทักษะทางวิชาชีพ มีคุณภาพ คุณธรรม เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และนานาชาติ

พันธกิจ มีทั้งสิ้น 5 พันธกิจ

1. ด้านการผลิตบัณฑิต
2. ด้านงานวิจัยและนวัตกรรม
3. ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
4. ด้านบริการวิชาการกับชุมชนและสังคม
5. ด้านการบริหารจัดการและการประกันคุณภาพ

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

เป้าหมายผลผลิต
1. หลักสูตรมีคุณภาพและได้รับการรับรองและเห็นชอบตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และได้รับการรับรองจากองค์กรวิชาชีพระดับชาติ/นานาชาติ
2. มีหลักสูตรที่ร่วมดำเนินการกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ ในสาขาที่เป็นความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยในรูปแบบหลักสูตรปริญญาควบ/ปริญญาข้ามสถาบัน (Double Degree /Joint Degree)
3. บัณฑิตของมหาวิทยาลัยทุกช่วงวัยมีความสามารถสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก พัฒนาสู่การเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) และมีสมรรถนะของคนในศตวรรษที่ 21 โดยมีทักษะ ดังนี้
     3.1 ทักษะการใช้ภาษา (Language Literacy) ทักษะดิจิทัล (Digital Literacy) ทักษะเชิงตัวเลขและการเงิน (Numerical and Financial Literacy)
     3.2 ทักษะด้านการคิด ทักษะการสื่อสาร และทักษะการเป็นผู้นำ
4. มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตและชุมชนสังคม โดยมีระบบเทคโนโลยีดิจิทัลที่พร้อมกับการเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart University) เอื้อต่อการพัฒนานิสิต บุคคลภายนอกและชุมชนสังคม ให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และเกิดทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. มีความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตกับสถานประกอบการ ชุมชนสังคม โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาบัณฑิตร่วมกันโดยการร่วมสอน ร่วมพัฒนาอาจารย์ ร่วมจัดสหกิจศึกษา และจัดการศึกษาแบบบูรณาการกับการทำงาน โดยมีสถานประกอบการ ชุมชน และสังคมรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมเป็นเครือข่ายในการทำให้บัณฑิต เป็นบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ และเกิดการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน
มี 4 กลยุทธ์ คือ

กลยุทธ์ที่ 1 บัณฑิตมีความเป็นเลิศทางวิชาการและเชี่ยวชาญในทักษะวิชาชีพ
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ (Outcome based Education) เป็นหลักสูตรเชิงสมรรถนะที่มีความทันสมัยสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ และก้าวสู่สังคมดิจิทัล
2. พัฒนาคุณภาพการบริหารหลักสูตรทุกสาขาวิชาให้มีคุณภาพมาตรฐานทางวิชาการ เช่น ด้านบริหารธุรกิจเพื่อให้ผลผลิตทุกด้านมีคุณภาพและได้รับการประเมินเพื่อการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานสากล เช่น สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีทั่วโลก (Association to Advance Collegiate Schools of Business: AACSB) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจระดับโลก
3. หลักสูตรวิชาชีพทุกหลักสูตรได้รับการรับรองจากองค์กร/สภาวิชาชีพระดับชาติ
4. พัฒนาหลักสูตรและรายวิชาที่เน้นผลสัมฤทธิ์เชิงสมรรถนะทั้งหลักสูตรระยะสั้น (Non–Degree) และหลักสูตรระยะยาว (Degree) โดยความร่วมมือจากเครือข่ายทางวิชาการกับสถาบัน/หน่วยงาน/องค์กรทั้งในและต่างประเทศ
5. นิสิตมีทักษะการเป็นผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21 และมีคุณลักษณะของการเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) โดยมีทักษะการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ทักษะการสื่อสาร ทักษะความร่วมมือและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
6. นิสิตเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตและมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะ สามารถบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมหรือแก้ไขปัญหาสังคมในวงกว้าง
7. บัณฑิตเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง มีความกล้าหาญทางจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้อง รู้คุณค่าและรักษ์ความเป็นไทยร่วมมือรวมพลังเพื่อสร้างสรรค์การพัฒนาและเสริมสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืนทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน สังคม และประชาคมโลก
8. ฝึกทักษะและสอบวัดสมรรถนะคุณวุฒิวิชาชีพ และสมรรถนะวิชาชีพ

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นสากล
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มีระบบการบริหารการจัดการศึกษาที่เป็นสากล
2. มีหลักสูตรที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ ที่เป็นความร่วมมือกับต่างประเทศ
3. หลักสูตรของมหาวิทยาลัยมีคุณภาพที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองในระดับประเทศ
และสากล
4. นิสิตมีความรู้ภาษาต่างประเทศมากกว่า 1 ภาษา
5. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีมีความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษตามมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ (Common European Framework of Reference for Languages: CEFR) สูงขึ้น

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาในยุคดิจิทัล
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. พัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองทั้งทักษะภาษาอังกฤษ และทักษะดิจิทัลก่อนเข้ารับการ ประเมินเพื่อทวนสอบผลสัมฤทธิ์ (Exit-Exam)
2. พัฒนานิสิตให้มีทักษะการเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมรุ่นใหม่
3. มหาวิทยาลัยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีแหล่งเรียนรู้ด้วยระบบดิจิทัล (Digital Learning Center)
4. มีการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ (E-Learning) และจัดให้มีรายวิชาออนไลน์ Massive Open Online Course (MOOC) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยสามารถเรียนรู้ได้เอง สามารถเก็บหน่วยกิต เพื่อเข้าศึกษาในระบบทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
5. มีการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนและสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)
6. มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคาร สถานที่ที่ปลอดภัย และอุปกรณ์เพียงพอ รักษ์สิ่งแวดล้อม เอื้อต่อการเรียนรู้และกระบวนการทำงานให้ได้ตรงตามความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล

กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอก และสถานประกอบการ
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มหาวิทยาลัยมีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบัน/องค์กรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเครือข่ายศิษย์เก่าในการเปิดหลักสูตรพัฒนานิสิตและชุมชนระยะสั้น ระยะยาว มีการให้บริการวิชาการที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนให้สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
2. บัณฑิตมีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะเชิงวิชาชีพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานผ่านการจัดการศึกษาในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL) โดยการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ หรือการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษาในทุกหลักสูตร โดยให้ภาคเอกชนและสถานประกอบการเข้ามามีบทบาทร่วมจัดการศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
3. พัฒนาความเป็นผู้นำของนิสิตผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL) หรือการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา

เป้าหมายผลผลิต
1. พัฒนาระบบสารสนเทศที่เอื้อต่อการดำเนินงานและบูรณาการระบบการประกันคุณภาพและการประเมินผลการปฏิบัติงานไปสู่งานประจำ โดยกระบวนการวงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) เป็นกลไกเชื่อมโยงการประกันคุณภาพ การประเมินผล และการนำกลับไปปรับปรุงงานประจำอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยทุกด้าน
2. มีการบริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล
3. มีการบริหารจัดการโดยการใช้เทคโนโลยีและแอปพลิเคชัน (Application) ที่สนับสนุนกระบวนการทำงานของมหาวิทยาลัยเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
4. มีบรรยากาศด้านวิชาการและสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ รวมทั้งมีความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ ในต่างประเทศ
5. มีช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารมหาวิทยาลัยด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสร้างเครือข่ายการรับสมัครนิสิตไทยและต่างประเทศ
มี 4 กลยุทธ์ คือ

กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาระบบการบริหารจัดการและการประกันคุณภาพที่เหมาะสม
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มีระบบและกลไกประกันคุณภาพการบริหารงานของมหาวิทยาลัย โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสมัยใหม่
2. มหาวิทยาลัยบูรณาการระบบประกันคุณภาพทุกระดับอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาสู่ “วัฒนธรรมคุณภาพ”
3. มหาวิทยาลัยได้รับการรับรองคุณภาพทั้งการประเมินคุณภาพภายในและจากองค์กรภายนอก
4. พัฒนาระบบสารสนเทศที่เอื้อต่อการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพ เพื่อให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยทุกด้าน
5. มีการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล

กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการ
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มีการบริหารจัดการในการใช้เทคโนโลยีและแอปพลิเคชัน (Application) ต่างๆ ที่สนับสนุนกระบวนการทำงานของมหาวิทยาลัยเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
2. มีระบบฐานข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำงานและการเรียนการสอนอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล
3. ใช้คลังข้อมูล (Big data) ในการสกัดและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประยุกต์ใช้ในการทำงาน

กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นนานาชาติ
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. พัฒนาบรรยากาศความเป็นนานาชาติในมหาวิทยาลัย
2. มีเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศในการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนิสิต

กลยุทธ์ที่ 8 การสื่อสารและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มีระบบฐานข้อมูลและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการใช้สื่อแต่ละประเภทที่ทันสมัยและรวดเร็ว
2. มีจำนวนนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติอยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่ออยู่รอดได้
3. มีการผลิตและสร้างสรรค์ การออกแบบสื่อทุกประเภท ได้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
4. มีการประชาสัมพันธ์และสื่อสารด้วยช่องทางที่ทันสมัย
5. มีเครือข่ายเผยแพร่ข่าวสารทั้งภายในและภายนอกประเทศ

เป้าหมายผลผลิต
1. อาจารย์เป็นผู้นำทางวิชาการ มีการปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพ มีจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมถึงมีคุณลักษณะ แบบ KSA ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) และด้านทัศนคติ (Attitude)
2. อาจารย์สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้
3. อาจารย์มีกระบวนการเรียนรู้ด้านวิจัยอย่างต่อเนื่อง สามารถสร้าง และใช้องค์ความรู้ใหม่ในการสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับความต้องการของชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข พร้อมยกระดับคุณภาพของงานวิจัยและนวัตกรรมให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม
4. อาจารย์มีการพัฒนาให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการมากขึ้น
5. อาจารย์มีคุณวุฒิทางการศึกษาที่สูงขึ้น
6. เจ้าหน้าที่มีการพัฒนาศักยภาพในการทำงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
7. มหาวิทยาลัยสามารถรักษา สร้างขวัญกำลังใจ และความก้าวหน้าในวิชาชีพของอาจารย์และเจ้าหน้าที่
8. เจ้าหน้าที่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้
มี 5 กลยุทธ์ คือ

กลยุทธ์ที่ 9 เสริมสร้างการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิชาการ และสมรรถนะในวิชาชีพ
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. ผลักดันศักยภาพอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพในด้านการจัดการเรียนการสอน เทคโนโลยี โดยมีการพัฒนาอาจารย์ให้มีความเชี่ยวชาญในด้านความรู้ความสามารถ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) และด้านทัศนคติ (Attitude) ที่ดีต่อมหาวิทยาลัย รวมถึงมีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพที่เหมาะสม
2. แผนอัตรากำลังสอดคล้องกับทิศทางของการพัฒนาด้านวิชาการ และตรงกับความต้องการของมหาวิทยาลัย

กลยุทธ์ที่ 10 เสริมสร้างการพัฒนาด้านวิจัยและนวัตกรรม
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มุ่งเน้นในการพัฒนาอาจารย์ให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิจัย รวมถึงสร้างงานวิจัยที่คุณภาพและมีมาตรฐาน
2. ส่งเสริมให้อาจารย์มีการจัดทำงานวิจัยเพื่อส่งเสริมความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ การรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีสังคมที่อยู่ดีมีสุข การเสริมสร้างภูมิปัญญามนุษย์

กลยุทธ์ที่ 11 เสริมสร้างการพัฒนาด้านการทำตำแหน่งทางวิชาการในหลากหลายรูปแบบ และมีคุณวุฒิทางการศึกษาที่สูงขึ้น
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มุ่งพัฒนาอาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
2. มุ่งพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณวุฒิทางการศึกษาที่สูงขึ้น

กลยุทธ์ที่ 12 เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มุ่งผลักดันและพัฒนาศักยภาพให้กับเจ้าหน้าที่ให้ตรงกับสายงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

กลยุทธ์ที่ 13 การธำรงรักษา สร้างขวัญกำลังใจ และความก้าวหน้าในวิชาชีพของอาจารย์และเจ้าหน้าที่
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. อาจารย์และเจ้าหน้าที่มีขวัญกำลังใจ
2. อาจารย์และเจ้าหน้าที่มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ

เป้าหมายผลผลิต
1. มหาวิทยาลัยมีระบบการดูแลให้คำปรึกษาแก่นิสิตเพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในมหาวิทยาลัย
2. นิสิตได้รับการจัดบริการสวัสดิการเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
3. ศิษย์เก่าได้รับข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์จากมหาวิทยาลัย
4. สร้างเครือข่ายระหว่างนิสิตเก่ากับมหาวิทยาลัยให้เกิดความสัมพันธ์อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน และส่งเสริมให้นิสิตปัจจุบันเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์กับเครือข่ายภายนอกมหาวิทยาลัย
5. นิสิตหรือบัณฑิตเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง มีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
6. นิสิตมีคุณลักษณะสอดคล้องตามอัตลักษณ์ได้แก่ จิตอาสาพัฒนาสังคม และเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งการบริหารจัดการ
มี 2 กลยุทธ์ คือ

กลยุทธ์ที่ 14 การดูแลนิสิต การจัดสวัสดิการนิสิต และการสร้างเครือข่ายนิสิตเก่าของมหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. พัฒนาระบบการดูแลให้คำปรึกษาแก่นิสิตในการใช้ชีวิตเพื่อให้นิสิตใช้ชีวิตอยู่ภายในมหาวิทยาลัยอย่างมีความสุข
2. พัฒนาระบบงานสวัสดิการและบริการนิสิตเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
3. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างนิสิตเก่ากับมหาวิทยาลัยให้เกิดความสัมพันธ์อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
4. ส่งเสริมให้นิสิตเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์กับเครือข่ายภายนอกมหาวิทยาลัย

กลยุทธ์ที่ 15 พัฒนาศักยภาพของนิสิต เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. ส่งเสริมให้นิสิตเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม และปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
2. ปลูกฝังนิสิตให้เป็นผู้มีจิตอาสาพัฒนาสังคม ตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ผ่านโครงการ/กิจกรรมของสาขา/คณะ/มหาวิทยาลัยฯ และหน่วยงานภายนอก
3. ส่งเสริมให้นิสิตมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัย ชุมชน และสังคม
4. เน้นสร้างการเรียนรู้ เจตคติที่ดี มนุษยสัมพันธ์ ทักษะในการสื่อสาร ความเป็นผู้นำ และวิธีการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยสอดคล้องกับเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

เป้าหมายผลผลิต
1. มหาวิทยาลัยมีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กรในการบริการวิชาการให้แก่ท้องถิ่น ชุมชน และสังคม
2. มหาวิทยาลัยร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือในการให้บริการวิชาการที่มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน และสังคมที่นำไปสู่การพัฒนาตนเอง เสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่นิสิต ชุมชน สังคม ประเทศชาติ
3. บุคลากรและนิสิตตระหนักถึงความสำคัญและเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย
4. มหาวิทยาลัยมีบทบาทในการส่งเสริมสืบสานและสร้างสรรค์งานด้านศิลปวัฒนธรรมไทยร่วมกับ
ชุมชน ท้องถิ่น
มี 2 กลยุทธ์ คือ

กลยุทธ์ที่ 16 การบริการวิชาการเพื่อสร้างความยั่งยืนและมั่นคงของชุมชน
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและองค์กรภายนอกในการบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น ชุมชน และสังคม
2. มีการบริการวิชาการแบบจัดหารายได้จากการดำเนินงานด้านการศึกษาต่อเนื่อง ผ่านหลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตรระยะสั้น หรือหลักสูตรปกติให้กับคนวัยทำงาน (Workforce)
3. มหาวิทยาลัยมีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบัน/องค์กรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเครือข่ายศิษย์เก่าในการเปิดหลักสูตรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระยะสั้น ระยะยาว ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
     3.1 ด้านสังคมสูงวัย มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย และการจัดการศึกษาเพื่อผู้สูงวัยทั้งการเสริมทักษะใหม่ (Up skill) และการพัฒนาทักษะที่มีอยู่ (Reskill) ในผู้สูงอายุ
     3.2 ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ มีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และมีการเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตและคนในชุมชนในการเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ รวมถึงการสร้างผู้ประกอบการใหม่ (Startup)
     3.3 มีโรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัย
4. จัดโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการที่ร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือองค์กรภายนอก ตามความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย ให้สอดคล้องกับบริบทและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน และสังคม
5. ส่งเสริมและติดตามการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการบริการวิชาการมาบูรณาการกับการเรียนการสอน และการสร้างความเข้มแข็ง ยั่งยืนให้แก่นิสิต ชุมชน สังคม ประเทศชาติ
6. มหาวิทยาลัยมีบทบาทในการเป็นผู้นำด้านการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม บนพื้นฐานความพอเพียง

กลยุทธ์ที่ 17 ส่งเสริมและเผยแพร่การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยแก่ชุมชน ท้องถิ่น และสังคม
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์

1. มีการจัดการเรียนรู้ที่นำไปสู่การสืบสาน การสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมไทยหรือต่างประเทศเพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
2. มีการบริการวิชาการที่นำไปสู่การสืบสาน การสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมไทยหรือต่างประเทศและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม