เป้าหมายผลผลิต |
พัฒนากระบวนการผลิตบัณฑิตและบุคลากรวิชาชีพทั้งระบบตั้งแต่หลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สามารถยกระดับทักษะและความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความหลากหลายและต่างวัยให้มีศักยภาพและความเชี่ยวชาญเฉพาะที่สอดคล้องและตอบสนองการพัฒนาประเทศ โดยมีนวัตกรรมการจัดทำหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ทั้งในระบบชั้นเรียน ระบบการจัดการศึกษาทางไกล และระบบการจัดการศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนและบัณฑิตมีผลลัพธ์การเรียนรู้ มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีคุณลักษณะและสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ |
มี 4 กลยุทธ์ คือ |
กลยุทธ์ที่ 1 มีหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม และประชากรทุกช่วงวัย 1. มีหลักสูตรระดับปริญญา (Degree Program) หลักสูตรระยะสั้น (Non-Degree Program) ที่มีความยืดหยุ่น (Flexibility) เข้าถึงได้ง่าย (Accessibility) สามารถพัฒนาทักษะให้คนทุกช่วงวัยรวมทั้งกลุ่มผู้สูงอายุก้าวทันวิทยาการ เทคโนโลยี มีทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับการประกอบวิชาชีพในรูปแบบ Reskill Upskill และ New Skills และสามารถเก็บหน่วยกิตสะสมได้ตลอดชีวิต (Credit bank)
|
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในยุคดิจิทัล 1. มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้และการประเมินที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียน (Outcome-based Education: OBE) เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพที่เฉพาะเจาะจง ทำเป็นอย่างชำนาญและเชี่ยวชาญ (Micro Credentials) ทุกสาขาวิชา |
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนานิสิตให้สามารถสร้างผลงานวิชาการและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ 1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนิสิตด้านความรู้ ความสามารถที่ใช้ในการทำงานและการดำรงชีวิตทั้ง Hard Skills และ Soft Skills |
กลยุทธ์ที่ 4 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง 1. มีหลักสูตรที่มีการพัฒนาร่วมกัน (Joint Degree) หรือหลักสูตร 2 ปริญญา (Double Degree) ในสาขาวิชาที่เป็นความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยที่เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ |
เป้าหมายผลผลิต |
สรรหา คัดเลือก พัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้นำทางวิชาการ มีการปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพ รวมถึงสมรรถนะด้านดิจิทัล ด้านการวิจัย มีจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ พร้อมทั้งธำรงรักษาบุคลากรให้คงอยู่กับมหาวิทยาลัย |
มี 3 กลยุทธ์ คือ |
กลยุทธ์ที่ 5 สรรหา คัดเลือกบุคลากร หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ 1. มุ่งสรรหา คัดเลือกบุคลากร หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์เข้ามาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนามหาวิทยาลัย |
กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ 1. พัฒนาสมรรถนะและศักยภาพของอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพในด้านการจัดการเรียนการสอน เทคโนโลยี ให้มีความเชี่ยวชาญในด้านความรู้ความสามารถ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) และด้านทัศนคติ (Attitude) ที่ดีต่อมหาวิทยาลัย รวมถึงมีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพที่เหมาะสม |
กลยุทธ์ที่ 7 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความรู้สึกภักดีต่อองค์กร 1. มุ่งให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขในการทำงาน รวมถึงสร้างความรู้สึกภักดีต่อองค์กร |
เป้าหมายผลผลิต |
นิสิตหรือบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม มีความภาคภูมิใจในสถาบัน มีสมรรถนะและจรรยาบรรณในวิชาชีพ สอดคล้องกับอัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างพลเมืองโลก ที่มีจิตสาธารณะ นิสิตได้รับการบริการสวัสดิการที่ดีเอื้อประโยชน์ตามสิทธิพึงประสงค์ของนิสิต เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งสร้างเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังเหตุฉุกเฉิน และได้รับความร่วมมือของนิสิตเก่า โดยมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางของความสัมพันธ์ |
มี 2 กลยุทธ์ คือ |
กลยุทธ์ที่ 8 พัฒนาศักยภาพของนิสิต ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย 1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนิสิตด้านกิจกรรมและทักษะทางสังคมที่ใช้เพื่อปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (Soft Skills) |
กลยุทธ์ที่ 9 ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของนิสิต และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับนิสิตเก่า และหน่วยงานภายนอก 1. พัฒนาระบบงานสวัสดิการนิสิตเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี |
เป้าหมายผลผลิต |
มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งผลิตงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรม นำไปสู่การใช้งานจริงและสร้างโอกาสทางธุรกิจ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ |
มี 3 กลยุทธ์ คือ |
กลยุทธ์ที่ 10 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อการวิจัย 1. การจัดทำฐานข้อมูลงานวิจัยที่รวบรวมองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการสืบค้น เอื้อต่อการอ้างอิงทางวิชาการและการใช้ประโยชน์ รวมไปถึงการจัดทำแพลตฟอร์ม (Platform) ในการส่งเสริมระบบนิเวศด้านการวิจัยและนวัตกรรม เช่น การพิจารณางานวิจัย การให้ทุนวิจัย และการประเมินงานวิจัย |
กลยุทธ์ที่ 11 การพัฒนามาตรฐานคุณภาพงานวิจัยและจริยธรรมการวิจัย 1. ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เช่น การกำหนดนโยบายและกรอบโจทย์งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ การจัดให้มีที่ปรึกษางานวิจัย การจัดนักวิจัยพี่เลี้ยงให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ จัดกรอบทุนวิจัย และรางวัลนักวิจัย |
กลยุทธ์ที่ 12 สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัย 1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยกับสถานศึกษาหรือหน่วยงาน ในประเทศหรือต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศด้านธุรกิจและดิจิทัล |
เป้าหมายผลผลิต |
มหาวิทยาลัยมีการทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน และสังคมที่นำไปสู่การพัฒนา การสนับสนุนส่งเสริมสร้างสรรค์ความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่บุคลากร นิสิต ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญและเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย โดยมหาวิทยาลัยมีบทบาทในการส่งเสริมสืบสานและสร้างสรรค์งานด้านด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับชุมชนท้องถิ่น |
มี 2 กลยุทธ์ คือ |
กลยุทธ์ที่ 13 สนับสนุนส่งเสริมการทำนุบำรุงศาสนา และเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรมไทย 1. ส่งเสริมการทำนุบำรุงศาสนาและเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรมไทย |
กลยุทธ์ที่ 14 ส่งเสริม สืบสาน รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น 1. อนุรักษ์ สืบสาน รักษา และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างค่านิยมความเป็นไทย |
เป้าหมายผลผลิต |
มหาวิทยาลัยมุ่งให้บริการวิชาการและวิชาชีพให้แก่ชุมชน สังคมทุกช่วงวัยในสาขาวิชาที่เป็นความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย รวมถึงด้านการทำธุรกิจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยการอบรมให้ความรู้ อบรมเชิงปฏิบัติการ จัดทำหลักสูตรระยะสั้น และเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ ที่เน้นการสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของนิสิต อาจารย์ และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านธุรกิจและดิจิทัล (Smart Business and Digital Center) เพื่อการพัฒนาศักยภาพชุมชน สังคม ให้มีความรู้ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินงานต่าง ๆ ตามความต้องการและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน สังคม เพื่อให้ชุมชน สังคม มีความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถในการทำธุรกิจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินงานต่าง ๆ |
มี 2 กลยุทธ์ คือ |
กลยุทธ์ที่ 15 การเป็นศูนย์กลางการบริการวิชาการและส่งเสริมความเป็นเลิศด้านธุรกิจและดิจิทัล (Smart Business and Digital Center) ให้แก่ชุมชน สังคม 1. มหาวิทยาลัยมีโครงการ/กิจกรรมให้บริการวิชาการและวิชาชีพในด้านสาขาวิชาที่เป็นความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ชุมชน สังคมทุกช่วงวัย รวมถึงการทำธุรกิจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของชุมชน สังคม |
กลยุทธ์ที่ 16 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านบริการวิชาการให้แก่ชุมชน สังคม 1. มหาวิทยาลัยมีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกในการบริการวิชาการและส่งเสริมความเป็นเลิศในด้านธุรกิจและดิจิทัลให้แก่ชุมชน สังคม |
เป้าหมายผลผลิต |
พัฒนาระบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้หลักธรรมาภิบาล และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาภายในหรือต่างประเทศ ในลักษณะเครือข่าย เพื่อรองรับความต้องการในการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะของผู้เรียนที่หลากหลาย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 เป็นไปตาม มาตรฐานระดับชาติหรือนานาชาติ |
มี 5 กลยุทธ์ คือ |
กลยุทธ์ที่ 17 การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล 1. มหาวิทยาลัยมีการจัดทำ แผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะยาว 10 ปี แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ แผนปฏิบัติการประจำปี และมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับคณะและสำนัก |
กลยุทธ์ที่ 18 การพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิทัล 1. พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อการบริหารงานทุกระบบ รวมถึงพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้และการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล |
กลยุทธ์ที่ 19 การพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) 1. การพัฒนามหาวิทยาลัยเป็น Green University ในทุกระบบตามเกณฑ์ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก (UI Green Metric World University Ranking) เพื่อส่งเสริมความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อม |
กลยุทธ์ที่ 20 พัฒนาการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามเกณฑ์มาตรฐานชาติและระดับสากล 1. คณะและมหาวิทยาลัยได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานระดับชาติและระดับสากล เช่น การจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก (UI Green Metric World University Ranking) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx) เป็นต้น 2. มีหลักสูตรที่ได้มาตรฐานได้รับการรับรองและยอมรับตามเกณฑ์มาตรฐานระดับชาติและระดับสากล |
กลยุทธ์ที่ 21 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือของมหาวิทยาลัยกับสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศ 1. มีเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหรือสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ |
เป้าหมายผลผลิต |
สื่อสารภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยตามอัตลักษณ์ “มหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศทางด้านธุรกิจและดิจิทัล (Smart Business and Digital University)” โดยเน้นการสื่อสารภาพลักษณ์ที่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการบริหารจัดการ และ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาในหลากหลายกลุ่ม |
มี 2 กลยุทธ์ คือ |
กลยุทธ์ที่ 22 สื่อสารภาพลักษณ์มหาวิทยาลัย 1. มีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาตรีออนไลน์ บัณฑิตศึกษา และคอร์สอบรมระยะสั้นผ่านระบบออนไลน์ อย่างเป็นรูปธรรม |
กลยุทธ์ที่ 23 การประชาสัมพันธ์ตามรูปแบบกระแสสื่อสังคมออนไลน์ 1. มีการจัดกิจกรรมร่วมกับกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแนะแนวประชาสัมพันธ์ |